top of page

วาระเชียงใหม่
:
วาระแก้ฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่

LIVE ‘วาระเชียงใหม่ : การแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่’
ชาวเชียงใหม่ และผู้ที่สนใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประกาศข้อเสนอ 

วาระเชียงใหม่ : วาระแก้ฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ กับ 3 วาระสำคัญ ที่คัดสรรมาจากภาคประชาสังคม คนหน้างาน ประชาสังคม และชุมชนผู้ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่

🌫️วาระที่ 1พรบ.อากาศสะอาดเชียงใหม่พร้อมนำร่อง?

🫁วาระที่ 2 ทิศทางการบริหารจัดการไฟและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน โดยชุมชน และท้องถิ่น

🌱วาระที่ 3 วิกฤตฝุ่นควันสุขภาพคนเชียงใหม่ต้องมาก่อน

วาระที่ 1 พรบ.อากาศสะอาดเชียงใหม่พร้อมนำร่อง?
(Update ความก้าวหน้า พรบ. และช่องทางการมีส่วนร่วม)

 

เชียงใหม่พร้อมนำร่องพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด
1. ตั้งคณะกรรมการบูรณาการที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

  • ดำเนินการจัดทำแผนบริหารเชื้อเพลิง ไฟป่า แบบบูรณาการร่วมกัน

  • จัดทำกติกา ธรรมนูญ ลดการเผา ชุมชนจัดการตนเองมีงบประมาณสนับสนุน จังหวัดสามารถบริหารจัดการ    ตนเองได้

  • ประกาศจังหวัด ที่ต้องยอมรับการบริหารเชื้อเพลิง และ การห้ามเผา

  • สร้างการสื่อสารการรับรู้กับทางพื้นที่ที่ไม่ซับซ้อน

  • รัฐบาลจัดสรรงบกลางเพื่อดำเนินการในปี 2568 ทันที/เชียงใหม่ต้องมีงบกลางขอให้จัดสรรงบตั้งแต่เดือนมกราคม

2. หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluters Pay Principle: PPP)

  • กลุ่มแหล่งทุนที่ก่อให้เกิดมลพิษ กับ ชาวบ้านที่ต้องใช้ไฟในไร่หมุนเวียนต้องมีการลงโทษให้สมเหตุสมผล มีข้อยกเว้นที่เหมาะสม

  • หลักการแก้ไขปัญหาต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน

3. แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างให้ได้

  • ปรับระบบราชการ และกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น

  • ปัญหาที่ซับซ้อน ที่อยู่ภายใต้ความเหลื่อมล้ำ

  • ความยากจนของประชาชนต้องได้รับการแก้ไข

4. จัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารจัดการอากาศสะอาด ในพรบ.เป็นกองทุนแยกต่างหากจากกองทุนสิ่งแวดล้อม
5. ในระยะเร่งด่วนปี 2568 ที่ พรบ.ยังไม่มีผลบังคับใช้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) สามารถออกระเบียบมาตรการบังคับสำหรับสินค้าไม่เผา สำหรับสินค้านำเข้าและส่งออกได้โดยไม่ต้องรอ พรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด

วาระที่ 2 ทิศทางการบริหารจัดการไฟและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน โดยชุมชน และท้องถิ่น

(ข้อเสนอที่ตอบโจทย์ตรงจุดจากระดับนโยบายถึงใจกลางชุมชน)

- สิทธิในที่ดินทำกิน
- ทำแผนการบริหารจัดการไฟทำให้สามารถควบคุมไฟไม่ให้เกิดการลุกลามได้ ควรมีคำสั่งตั้งแต่ต้นปี

1. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงควรเป็นมาตรการหลัก ควรเพิ่มการกระจายอำนาจให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการร่วมกันทั้ง อปท. ประชาสังคม ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่อุทยาน/ป่าไม้/รักษาพันธุ์สัตว์ป่า

  • ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญาของชนเผ่า กับการทำงานแก้ไขปัญหาด้านหมอกควันไฟป่า

  •  นิยาม “ไฟจำเป็น”

  • สนับสนุนรูปธรรมในการปฏิบัติการทำแผนการจัดการไฟในพื้นที่ชุมชน

2. ให้มีองค์กรทำงานระหว่างประเทศในลุ่มน้ำโขงเรื่องของหมอกควัน ไฟป่าโดยมีชนเผ่าอยู่ในคณะทำงาน

วาระที่ 3 วิกฤตฝุ่นควันสุขภาพคนเชียงใหม่ต้องมาก่อน

(ข้อเสนอส่งเสริมหลักประกันสุขภาพและการดูแลสุขภาพคนเชียงใหม่ในช่วงวิกฤตฝุ่นควันให้ดีกว่าเดิม)

1. ระบบสนับสนุน : งบประมาณ อุปกรณ์ดับไฟที่ทันสมัย และประกันชีวิตอาสาสมัครชุมชน
2. แผนป้องกันสุขภาพในภาวะวิกฤติ

  • กลุ่มคนเปราะบางต้องเข้าถึงสิทธิพื้นฐานสุขภาพ 

  • ให้ทุกคนในพื้นที่ฝุ่นควันไฟป่าได้รัับการคดกรองมะเร็งปอด ฟรีแบบไม่มีเงื่อนไข

  • การป้องกันและการจัดการปัญหาการเข้าถึงข้อมูล พื้นที่ปลอดฝุ่น และอุปกรณ์ ให้เข้าถึงง่ายขึ้น

  • ขยายเรื่องมุ้งสู้ฝุ่นให้ครอบคลุมกลุ่มเปราะบาง ยากลำบาก

3. การยกระดับ การตอบโต้สถานการณ์วิกฤติสุขภาพ การประกาศพื้นที่วิกฤติสุขภาพ

โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page