top of page
สภามหายใจเชียงใหม่

ยุทธศาสตร์และแผนงาน ปี 2564 - ปี 2566

สภาล��มหายใจเชียงใหม่

จุดเริ่มต้นของแนวคิดการก่อตั้งสภาลมหายใจเชียงใหม่ มาจากกลุ่มประชาชนและเครือข่ายที่ทำงานขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา

เกี่ยว  กับสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางอากาศ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน (กกร.) และภาคประชาชน ที่เห็นพ้องว่า

จังหวัดเชียงใหม่จะต้องรวมพลังของประชาชนให้เป็นเอกภาพ เพื่อทำงานขับเคลื่อน ประสานงานและหนุนเสริมการทำงานของประชาชนทุกฝ่าย ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ ทั้งระยะสั้น การแก้ปัญหาในช่วงเผชิญเหตุการณ์

วิกฤตเฉพาะหน้า ระยะกลางและระยะยาว โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเพื่อประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือมีอากาศหายใจ

ที่สะอาดและปลอดภัยตลอดทั้งปี ภายใต้แนวคิด “เรามีลมหายใจเดียวกัน” สภาลมหายใจเชียงใหม่ก่อตั้งขึ้น เมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2562 มีลักษณะเป็นองค์กรเปิด สามารถขยายเครือข่ายความร่วมมือ ในการทำงานแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

แบบเปิดกว้าง มี 5 ทิศทางดำเนินงานคือ

1. ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศสามารถแก้ไขได้โดยต้องมองปัญหาในระยะยาวและรอบด้านมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหา            ฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน                                                                                                      2. ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ จำเป็นต้องใช้มาตรการผลักดันทางสังคมควบคู่ไปกับการใช้มาตรการทางกฎหมาย           และปฏิบัติการของราชการ ประชาชนและภาคประชาสังคมมีบทบาทในการรณรงค์และผลักดันนโยบายสาธารณะ ซึ่งจะต้อง

อาศัยความร่วมมือและความเข้าใจถึงปัญหา เพื่อนำไปสู่การทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

อย่างบูรณาการและมีส่วนร่วม                                                                                                                    3. การแก้ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศโดยมาตรการห้ามเผาในช่วงวิกฤต (มกราคม-เมษายน) ไม่สามารถแก้ไขปัญหา      ฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างตรงจุด จำเป็นต้องมีการวางแผนการทำงานและมาตรการเพื่อแก้ไข  ปัญหาในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ภายใต้ความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้อง                                          4. ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ มีความซับซ้อนและมีความขัดแย้ง มีช่องว่างเกี่ยวกับการทำงานในระดับหน่วยงานพื้นที่และระดับนโยบายสภาลมหายใจเชียงใหม่จะทำงานบนฐานการสร้างความร่วมมือและลดปัญหาความขัดแย้ง แสวงหาหนทางในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา เข้าใจความแตกต่างหนุนเสริม เสนอแนะ และผลักดันนโยบายหรือมาตรการที่เป็นประโยชน์ โดยยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ                        5. ออกแบบการทำงานที่มุ่งประสานความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างประชาชนในพื้นที่เมืองและนอกเมืองตลอดจนภาคี   

ทุกภาคส่วน  โดยให้ความสำคัญกับการลดแหล่งกำเนิดของฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศจากทุกแหล่งกำเนิด ทั้งในพื้นที่เมือง

และพื้นที่นอกเมือง รณรงค์ให้สังคมเห็นถึงภยันตรายของปัญหา วิธีป้องกัน และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศของภูมิประเทศแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อให้เห็นภาพชัดในการร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างมีความเข้าใจและยั่งยืน

ที่มาและความสำคัญ

การดำเนินงานใน ปี 2562 - 2563 ผลลัพธ์สำคัญ

 1. การนำเสนอนโยบายสาธารณะเรื่องการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ที่เปลี่ยนจากแนวคิดห้ามเผาเชื้อเพลิงทุกประเภท ไปเป็น     การบริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง       โดยชุมชนมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกหลักในการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ใน  ท้องที่เช่น หน่วยงานรัฐ

ที่ดูแลพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์องค์กรประชาสังคม เป็นต้น เกิดการทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด

เพื่อออกมาตรการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดในภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการแก้ปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินทำกินของชาวบ้านในเขตป่า การกระจายอำนาจ ทั้งภารกิจและงบประมาณเพื่อดำเนินการบริหาร จัดการ เชื้อเพลิงและภารกิจอื่น ๆ แก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ                                                           

2. การสร้างรูปแบบการลดปัญหามลพิษจากแหล่งกำเนิดยานยนต์และแหล่งกำเนิดอื่นๆในเขตพื้นที่เมืองและรอบเมือง เกิดการ

จัดทำเส้นทางจักรยานท่องเที่ยวย่านชุมชนเมืองเก่า”กิจกรรมปั่นเพื่อเปลี่ยน”ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและจักรยานยนต์ต่อยอดเป็นการพัฒนาสร้างเส้นทางจักรยานในเขตเมือง การจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความตระหนักปัญหามลพิษอากาศ กิจกรรมนิทรรศการ Art For Air -Beat the Haze – Lanna ฟ้าใส และการสร้างความรู้เรื่องการจัดการขยะการทำงานร่วมกับเทศบาล

นครเชียงใหม่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่งในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะพื้นที่

สีเขียว การจัดทำต้นแบบบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน สู้ฝุ่น                           

3. การมีส่วนร่วมพัฒนากลไกความร่วมมือในระดับจังหวัดในรูปแบบคณะกรรมการแก้ปัญหาฝุ่นควันแบบบูรณาการทุกภาคส่วน

กลไกความร่วมมือเครือข่ายประชาชนพื้นที่ดอยสุเทพจัดการไฟป่าและฝุ่นควัน กลไกความร่วมมือการบัญชาการจัดการไฟฟ้า

และฝุ่นควัน                                                                                                                         

4.การขยายภาคีความร่วมมือไปสู่ระดับภาคเหนือ ก่อเกิดเครือข่าย “สภาลมหายใจภาคเหนือ”                                        5. มีกลไกเครื่องมือสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมสำคัญคือ งานวิชาการ งานสื่อ งานสร้างอาสาสมัคร                                    6. เกิดแนวคิดและกระบวนการทำงานแบบ “เชียงใหม่โมเดล”เป็นการเชื่อมโยงพลังภาคีทุกภาคส่วนเชื่อมร้อยทุกศักยภาพร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการทำงานเชิงป้องกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยพัฒนาแผนบูรณาการในแก้ปัญหา

ฝุ่นควันจากทุกแหล่งกำเนิด ทั้งการป้องกันไฟป่าและฝุ่นควัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การดูแลสุขภาพ

และสวัสดิการ และให้ความสำคัญในการระดมการสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาแผนและปฏิบัติการบริหาร

จัดการป้องกันและก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืนตามบริบทของพื้นที่

​1. สภาลมหายใจเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมร้อยความร่วมมือในการทำงานขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศที่สำคัญ

เป็นพื้นที่กลางหรือพื้นที่หน้าหมู่ที่รวบรวมประชาชนผู้มีจิตอาสาเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศอำนวย

ให้ทุกภาคส่วนเข้ามาทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้นและเกิดการทำงานขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน อย่างมีประสิทธิภาพมีส่วนช่วยในการประสานงานกับภาคประชาชนและภาคเอกชน เป็นตัวแทนของจังหวัดเชียงใหม่ในการรับบริจาคเงิน และสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ

บรรเทาสถานการณ์วิกฤตฝุ่นควันและไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมกับประชาชน อย่างต่อเนื่อง

และได้รับการยอมรับในการทำงานร่วมกับภาครัฐในระดับจังหวัด 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

2. การทำงานในรูปแบบสภาลมหายใจเป็นการสานพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาศักยภาพ
ของสภาลมหายใจในการทำงานเชื่อมประสานกับหน่วยงานรัฐที่มีความหลากหลายหน่วยงาน หลากหลายภารกิจยังดำเนินการ
ได้ไม่เต็มศักยภาพเป็นข้อจำกัดทั้งกระบวนการของสภาเองและในส่วนของอาสาสมัครคนทำงาน ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการทำงานเชื่อมประสานกับหน่วยงานรัฐ เอกชน กลไกภายในสภาลมหายใจเชียงใหม่ที่ขาดการบูรณาการทำงานร่วมกัน อย่างเป็นรูปธรรมการทำงานขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่องยังไม่สามารถยกระดับข้อเสนอทางนโยบายสาธารณะในการแก้ปัญหาในระดับชาติ
และการแก้ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนได้

โอกาส

3. โอกาสสถานการณ์ฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ เป็นปัญหาในระดับประเทศและเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้ได้รับความสนใจ

จากประชาชนและสื่อมวลชน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีงานศึกษาและงานวิจัยของภาคีวิชาการเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นควันและมลพิษ

ทางอากาศจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาเป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีนวัตกรรม และเทคโนโลยีทั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศที่มีการติดตั้งครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดมากที่สุดในประเทศไทยมีแอปพลิเคชัน

แจ้งเตือนค่าคุณภาพอากาศและบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า มีหน่วยงานภาครัฐและองค์การปกครองส่วน

ท้องถิ่นที่พร้อมทำงาน ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ มีวิธีทางกฎหมายที่แก้ปัญหาเรื่องกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น การจัดการที่ดิน

ในเขตป่า มีกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ที่สร้างเครือข่ายแก้ปัญหาด้านสุขภาพ มีเทคโนโลยีหน้ากากป้องกันฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ซึ่งเป็นต้นทุนของจังหวัดเชียงใหม่ที่เผชิญฝุ่นควันไฟป่าและมลพิษทางอากาศมาเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ปี สถานการณ์แพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19ส่งผลให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวมใส่หน้ากากอนามัย  ซึ่งนอกจากจะ  ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวแล้ว ยังช่วยป้องกันฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศในภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี

อุปสรรค

4. การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศต้องเริ่มที่การเข้าใจข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างถูกต้องและรอบด้าน ซึ่งเชื่อมโยงในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและงบประมาณ มิติของภาคประชาชน มิติทางเศรษฐกิจ มิติด้านสิ่งแวดล้อม

มิติของเมืองและการขยายตัวของที่อยู่อาศัย มิติด้านเทคโนโลยี มิติด้านพฤติกรรมการบริโภคและวิถีเกษตรกรรม มิติความสัมพันธ์

ในอาเซียน และเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่มีความเชื่อมโยงและเป็นกลไกของปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันความเข้าใจและการเชื่อมโยงปัญหาและสาเหตุของฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศทั้งภาคประชาชนภาควิชาการและภาครัฐยังคงแยกส่วนกันอย่างชัดเจน ดังนั้นการมีข้อมูลที่ถูกต้อง รอบด้าน ตรงกัน และเข้าถึงได้ง่ายจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนและการกำหนดแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัดระดับภาคและระดับชาติ

 วิสัยทัศน์

เชียงใหม่มีอากาศที่สะอาดและยั่งยืน

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

ความยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ

กุลยุทธ์

เสริมศักยภาพประชาชน โดยสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเปลี่ยน
แปลงวิถีชีวิต และวิถีการผลิตที่ยั่งยืนเพื่อลดปัญหาฝุ่นควันและ
มลพิษทางอากาศ
พัฒนาและผลักดันนโยบายสาธารณะบน
ฐานข้อมูล และความรู้ใน
การแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน และมลพิษทางอากาศในระดับท้องถิ่นระดับ จังหวัด,ระดับภาค,ระดับประเทศ 
และระดับภูมิภาค

ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ
อย่างบรูณาการ
สภาลมหายใจเชียงใหม่แก้ไขปัญหาฝุ่นควัน และมลพิษทาง
อากาศอย่างบรูณาการ

ยุทธศาสตร์

  1. เสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น จัดการปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

  2. เสริมสร้างและผลักดันนโยบายสาธารณะในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

  3. เสริมสร้างความเข้มแข็งสภาลมหายใจเชียงใหม่เป็นสภาพลเมืองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาล

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น
จัดการปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ

ให้ความสำคัญกับการสร้างพลังมวลชนในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหา(Social Movement)ภายใต้ข้อมูลและข้อเท็จจริง

ของปัญหาเพื่อให้เกิดการตื่นรู้และแรงกระเพื่อมทางสังคม มุ่งเน้นประชาชนเป็นหลักในการจัดการปัญหาฝุ่นควันมลพิษ

ทางอากาศ โดยร่วมงานกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้แผนงานตามเป้าประสงค์

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด

กลยุทธ

แผนงาน/โครงการ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เสริมสร้างและผลักดันนโยบายสาธารณะ
ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน  และมลพิษทางอากาศ

เน้นกระบวนการทำงานขับเคลื่อนในส่วนของราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่เกิดจากกระบวนการการมีส่วนร่วม โดยแผนงานและโครงการจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานภาคี ภายใต้

เงื่อนไขของผลประโยชน์ของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด

กลยุทธ

แผนงาน/โครงการ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างความเข้มแข็งสภาลมหายใจเชียงใหม่
เป็นสภาพลเมืองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาล

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด

กลยุทธ

แผนงาน/โครงการ

โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page