top of page

ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ
สภาลมหายใจเชียงใหม่ ประจำปี 2567

visual note

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567

ณ สวนสาธารณะเจริญประเทศ(ช้างคลาน)

แนะนำพื้นที่ การทำงานผลักดัน เรื่อง สวนสาธารณะเจริญประเทศ ของชาวเชียงใหม่

โดย ผศ.ดร.เขมกร ไชยประสิทธิ์ กรรมการมูลนิธิเพื่อลมหายใจเชียงใหม่/

สภาเมืองสีเขียว

เปิดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ สภาลมหายใจเชียงใหม่

โดย คุณทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

แถลงข่าว

  • การสนับสนุนแผนบูรณาการจัดการปัญหาฝุ่นควันไฟป่าปี 2567 ของเชียงใหม่ การผนึกกำลังร่วมกันของคนในเมือง ภาคธุรกิจ สาธารณชน

  • งานเทรลเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 โดยมูลนิธิเพื่อลมหายใจเชียงใหม่

โดย คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ คุณปลายอ้อ ทองสวัสดิ์ รองประธานมูลนิธิเพื่อลมหายใจเชียงใหม่

ผศ.ดร. เขมกร ไชยประสิทธิ์ สภาเมืองสีเขียว

การขับเคลื่อนสวนเจริญประเทศของภาคประชาสังคม ได้เสนอการออกแบบสวนโดยการประกวดและการมีส่วนร่วมโดยการเห็นชอบร่วมกัน สวนเจริญประเทศนั้นเกิดจากการต่อสู้ของเชียงใหม่ และอยู่ในการรับผิดชอบต่อโดยเทศบาลเชียงใหม่ เป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเฉพาะคนเชียงใหม่

คุณทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมผสานรวมร่วมกันหน่วยงานภาคอื่นๆ ให้มีการลดจุด Hot spot ในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงเปลี่ยนแนวทางการทำงานปี พ.ศ. 2567 ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหัวใจสำคัญคือ การทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนแบบ ไร้รอยต่อ อีกทั้งภายในปี พ.ศ. 2567 ประชุม War Room Fired โดยการ ขออนุญาตบริหารจัดการไฟ ผลักดันการเปลี่ยนแปลง วิธีการผลิต

และมอบรางวัลการบริหารจัดการไฟได้ดีในชุมชน

คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ

ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่

แนวทางเปลี่ยนการบริหารจัดการไฟ แผนป้องกัน และขอความร่วมมือ ดังนี้

1.เปลี่ยน

  • ยอมรับข้อเท็จจริงทางด้านวิชาการ

  • กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

  • ความเป็นธรรมทางด้านเศรษฐกิจ คน และสิ่งแวดล้อม

  • ควรแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ทุกฝ่ายต่างได้ประโยชน์

  • การแก้ปัญหาฝุ่นควันทั่วไป จัดการประชุมในทุกสัปดาห์

  • ผนึกกำลัง วางแผน บริหารเชื้อเพลิงแบบควบคุม

  • 85 ตำบล ที่สามารถจัดการลดไฟได้ มอบรางวัล

2 แผนป้องกัน

  • ป้องกันพื้นที่สำคัญ แนวกัน ลาดตะเวน

  • ลดเชื้อเพลิง และส่งต่อภาคเอกชน

  • ใช้ระบบ Fire D

3. สภาลมหายใจขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันติดตามระบบจัดการไฟและ ฝุ่นควัน โดยการร่วมด้วยช่วยกันสื่อสาร

คีย์เวิร์ดสำคัญ “เพี้ยวได้แต่บ่เผา” หรือ “ทำความสะอาดในพื้นที่ได้ แต่ห้ามเผา”

visual note

สภาลมหายใจเชียงใหม่ที่ผ่านมา 4 ปี และต้องไปต่อเพื่อเชียงใหม่อยู่เย็นเป็นสุข

สรุปทบทวนความสำเร็จ และความท้าทาย ของสภาลมหายใจเชียงใหม่

โดย คุณปริศนา พรหมมา คุณลักขณา ศรีหงส์ คุณศุภเกียรติ เมืองแก้ว

คุณลักขณา ศรีหงส์ สภาลมหายใจเชียงใหม่

การขับเคลื่อนในระดับเมือง ทม. แม่เหียะ เส้นทางท่องเที่ยวเชิง เกษตร อาหาร วัฒนธรรม อบต. ช้างเผือก การท่องเที่ยวขุนช้างเคี่ยน (เครือข่ายม้ง 12 หมู่บ้าน) พัฒนาแผนแม่บทการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทต. สันผีเสื้อ การจัดการกิ่งไม้ใบไม้ หรือ พัฒนาระบบข้อมูลการจัดพื้นที่สีเขียว

คุณปริศนา พรหมมา สภาลมหายใจเชียงใหม่

การผลักดันกลไกระดับท้องถิ่น และอปท. พื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าไม้ (แหล่งปลดปล่อยหลักของเชียงใหม่) พบว่า การห้ามเผานั้นไม่ได้ช่วยลดจุดความร้อนและสามารถลดการเผาของคนทั่วไปได้ ยิ่งห้ามมีค่าเท่ากับยิ่งเผา ควรเปลี่ยนเป็นการบริหารจัดการไฟป่า หรือเผาไฟที่จำเป็น ระบบนิเวศป่าผลัดใบ ต้องถอดบทเรียนจากพื้นที่ และต้องจัดการไฟ ที่จำเป็น ในพื้นที่เสี่ยงและเกิดไฟป่าหรือ Hotspot ซ้ำๆ พื้นที่ชุมชน และพื้นที่หาของป่า ประกาศเขตบริหารจัดการ 1 ธันวาคม – 30 พฤศจิกายน 67 ทำแผนร่วม หมู่บ้าน ท้องถิ่น ป่าไม้ คณะทำงานสนับสนุนการจัดการแผนไฟป่าฝุ่นควัน 7 ป่า โดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ป่าดอยสุเทพ มุ่งเป้าไปที่ 6 ตำบล ผลจากการผลักดัน จุดความร้อนในเชียงใหม่ ลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 92% ในปี 2567 (1 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์) เมื่อเทียบกับปี 2566 พยายามสร้างความเข้าใจร่วมกันให้ได้มากที่สุด ไฟจำเป็นต้องบาลานซ์ กับระบบสุขภาพอีกด้วย

คุณศุภเกียรติ เมืองแก้ว สภาลมหายใจเชียงใหม่

ทต. ท่าศาลา การจัดการ พื้นที่สีเขียวริมน้ำแม่คาว แผนพัฒนา และแผนแม่บทลำน้ำคาว ทน. เชียงใหม่ (เครือข่ายคนแป๋งเมือง) พื้นที่สีเขียวกินได้ในชุมชน การทำงานเมือง นอกจาก PM. 2.5 ต้องขับเคลื่อนร่วมกับหลากหลายมิติของเมือง การขับเคลื่อนการสื่อสารกับ Lanner และ Journer for Air

ระดมความเห็น ร่วมขับเคลื่อนเพื่ออากาศสะอาดเชียงใหม่และประเทศไทย

visual note

ความคืบหน้าการพิจารณาร่างกฎหมาย

อากาศสะอาด กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ดำเนินรายการโดย คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา

รองประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่

ระดมความเห็น ร่วมขับเคลื่อนเพื่ออากาศสะอาดเชียงใหม่และประเทศไทย

การร่วมขับเคลื่อนของประชาชน ประชาสังคมในการแก้ปัญหาฝุ่นควันเพื่อเชียงใหม่และสังคมไทย สิ่งที่กำลังทำ สิ่งที่หวังจะทำ เพื่ออากาศสะอาด

 

  • คุณจิรกร สุวงศ์ เครือข่ายท่องเที่ยว/สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

  • คุณลำดวน มหาวัน เครือข่ายสุขภาพ

  • คุณธีรวุฒิ แก้วฟอง เชียงใหม่กว่า -เปลี่ยนเชียงใหม่ไปด้วยกัน

  • คุณไพรัช ใหม่ชมภู ภาคีเลือกตั้งผู้ว่า

  • คุณชาติชาย ธรรมโม กป.อพช. /กลุ่มนักกิจกรรมภาคเหนือ

  • คุณปิยพงษ์ ปัญญาดา เครือข่ายงานเยาวชน

  • คุณมานิตย์ แก้ววรรณะ บ้านหนองห้า ต.น้ำบ่อหลวง

  • เครือข่ายม้ง บ้านบวกจั่น

  • เครือข่ายชาติพันธุ์

  • คุณปิยชัย นาคอ่อน ทีมสื่อสาร เจอเนอร์ สภาลมหายใจ

  • คุณวัชรพงษ์ นาคเกษม นักสื่อสาร ลานเนอร์

และ สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม ทุกท่าน ทุกเครือข่าย ร่วมระดมความเห็น

 

ดำเนินรายการโดย คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ

ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่

ความคืบหน้าการพิจารณาร่างกฎหมายอากาศสะอาด กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ ร่าง พรบ. อากาศสะอาด

  • ภาคประชาสังคมและประชาชนจำเป็นต้องติดตามทุกสัปดาห์

  • ทำงานร่วมกัน ติดตั้งอนุกรรมการติดตามกฎหมายสะอาด พิจารณาข้อแตกต่าง และหาข้อดีร่วมร่างเดียวกัน

ระดมความเห็น ร่วมขับเคลื่อนเพื่ออากาศสะอาดเชียงใหม่และประเทศไทย

การร่วมขับเคลื่อนของประชาชน ประชาสังคมในการแก้ปัญหาฝุ่นควันเพื่อเชียงใหม่และสังคมไทยสิ่งที่กำลังทำ สิ่งที่หวังจะทำ เพื่ออากาศสะอาด

คุณจิรกร สุวงศ์ เครือข่ายท่องเที่ยวและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วน BCG/ SDG ผู้ระกอบการต่างๆ ที่มีเครื่องมือที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เอกชนต้องขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ขับเคลื่อนร่วมกัน

ุคุณลำดวน มหาวัน เครือข่ายสุขภาพ ความท้าทาย ช่วยกันสื่อสารและป้องกันตนเองจากฝุ่นควัน เน้นการดูแลสุขภาพ รวมถึงสิทธิในการร้องเรียนเรื่องของ PM2.5

คุณธีรวุฒิ แก้วฟอง เชียงใหม่กว่า – เปลี่ยนเชียงใหม่ไปด้วยกัน เครื่องวัดคุณภาพของอากาศ ระดับครัวเรือน รวมถึงระดับชุมชน เพื่อให้ประชาชนดูแลตนเอง และป้องกันตัวเองจากฝุ่นควัน PM2.5 ผลักดันเครื่องกรองอากาศที่มีราคาต่ำ และราคาต่ำที่มีคุณภาพ

คุณไพรัช ใหม่ชมภู ภาคีเลือกตั้งผู้ว่าเชียงใหม่ อบจ. เคยมีงบแต่ต้องผ่านระบบราชการ ผลักดันการมอบรางวัลแก่ชุมชน แบ่งงบประมาณดูแลจากรัฐให้สู่ชุมชนและประชาชน ผลักดันการกระจายอำนาจเข้าสู่ภาคท้องถิ่น

คุณชาติชาย ธรรมโม กป. อพช / กลุ่มนักกิจกรรมภาคเหนือ ชุมชนในพื้นที่มีสิทธิในการจัดการทรัพยากรของตนเอง สร้างพื้นที่ความร่วมมือ เหมือนกับสภาลมหายใจเชียงใหม่ สวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ และสื่อสารข้อความรณรงค์

คุณปิยพงษ์ ปัญญาดา เครือข่ายงานเยาวชน ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน

คุณมานิตย์ แก้ววรรณะ บ้านหนองห้า ต. น้ำบ่อหลวง ทำแผนร่วมกันในชุมชน ขยายเขตป่าเปียก กระจายงบประมาณให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน จัดงานผ้าป่า และรำวงเพื่อระดมทุน ชุมชนจำเป็นต้องลุกมาแก้ปัญหาด้วยตนเอง

เครือข่ายม้งบ้านบวกจั่น ยอมรับความแตกต่าง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ระหว่างคนในเมืองและคนบนดอยต่างมีความหนักอกหนักใจที่แตกต่างกัน ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ แต่คนในพื้นที่ไม่ได้เผา ทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน

เครือข่ายชาติพันธุ์ ทำข้อสรุปและทำ Mapping รวมกับเครือข่าย จัดทำไฟล์ GIS เพื่อวิเคราะห์และข้อมูลสรุปรายแปลง บริหารจัดการไฟป่าโดย Fire D จัดการข้อมูลโดยใช้ข้อมูลในเชิงวิชาการ ระบบสั่งการ War room อย่างเป็นระบบและชัดเจน

คุณปิยชัย นาคอ่อน ทีมสื่อสาร Journer For Air สภาลมหายใจฯ ขยาย workshop สู่นักศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์ และที่มีไอเดีย สนับสนุนผู้ที่มีความสนใจ แก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 คนรุ่นหม่ผลักดันปัญหาไม่แพ้ครุ่นใหญ่ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมขับเคลื่อนเรื่องของฝุ่น

คุณวัชรพงษ์ นาคเกษม LANNER Project Journer For Air และ Campaigner For Air วิทยุชุมชนและเสียงตามสายทุกวันศุกร์ ( กุมภาพันธ์ – เมษายน ) การกระจายอำนาจสู่ภาคประชาสังคมและประชาชน สิทธิมนุษยชนที่จะมีอากาศดีนำไปสู่ พรบ. อากาศสะอาด การช่วยตรวจสอบเรื่องฝุ่นในภาคประชาสังคม อาทิเช่น การสื่อสาร การติดตาม และการร้องเรียน

#เพราะเรามีลมหายใจเดียวกัน

#สภาลมหายใจเชียงใหม่

โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page